วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

10 สุดยอด สถานที่ท่องเที่ยว กัมพูชา



1 Angkor Wat :  มหาปราสาทนครวัด



                   สถานที่ท่องเที่ยวอันดับหนึ่งในประเทศกัมพูชา ที่มีชื่อเสียงเกรียงไกร ดึงดูด ชาวต่างชาติ หลายหลายภาษาและวัฒนธรรมเข้ามาท่องเที่ยวและทำความรู้จักกับประเทศกัมพูชา ตามประวัติแล้ว ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้น เพื่อเป็นศาสนสถานอุทิศถวายพระวิษณุ ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และ สิ่งที่สร้างชื่อให้แก่ปราสาทแห่งนี้  ก็คือ ความยิ่งใหญ่ ของตัวปราสาท ที่เริ่มตั้งแต่สะพานนาคและ คูน้ำรอบรอบตัวปราสาท  องค์ปราง  5 ยอด และ ระเบียง คต ภายในตัวปราสาท   ที่รอบ ๆ ผนังของระเบียงคตจะ ถูกแกะสลักรูปนางอัปสรา มากกว่า 1000 องค์ โดยที่แต่ละองค์ จะมีเครื่องแต่งกายและ ทรงผม ไม่ซ้ำแบบกันเลย  และ จะมีเพียงองค์เดียวเท่านั้นที่ยิ้มเห็นฟัน   ถ้ามีโอกาศได้ไป ต้อง ลองหาดู ว่า นางอัปสราองค์นี้อยู่ตรงใหน  ถัดเข้าไปดุด้านในอีกชั้น จะเป็น ผนังรอบปรางค์ประธานทั้ง 4 ด้าน   ที่มีการแกะสลักเรื่องราว เกี่ยวกับศาสนาฮินดู และ การยกทัพสู้รบในอดีต  โดยเฉพาะระเบียงคตตะวันออก ด้านทิศใต้ ที่แกะสลักเป็นเรื่องราวของการกวนเกษียรสมุทร  และ ระเบีงคตทิศใต้ ด้านตะวันตก ที่แกะสลักเรื่องราวกองทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่สอง ที่แสดง ให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของชนชาติขอมในสมัยนั้น     และ ถ้าหากได้มีโอกาสขึ้นไป บนยอด ของปรางประธาน   เราสามารถชมวิวเมืองนครวัด ในมุมสูง ที่สวยงามมาก

2 Angkor Thom    : เมืองพระนครหลวง 



               ที่ก่อตั้ง ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7  เป็นช่วงเวลาที่รุ่งเรืองที่สุดของอาณาจักรขอม  ก่อนที่จะค่อย ๆ ล่มสลาย  ภายในของเมือง จะประกอบด้วยปราสาทน้อยใหญ่ หลายปราสาท ลานช้าง  ลานพระเจ้าขี้เลื้อนแ ต่ไฮไลท์สำคัญ ของเมืองจะอยู่ที่ ปราสาทบายน  ความอัศจรรย์ ของปราสาทแห่งนี้คือ ยอดของปราสาทที่สร้างเป็น พระพักตร์ ของพระอวโลกิเคศวร  หันหน้า ออก4 ทิศ ทั้ง 54 ยอด รวมทั้งหมด 216 หน้า   และ อย่าลืมแวะมาถ่ายรูปประตูเมืองพระนครทางทิศใต้ ที่เป็นอีก 1 จุด ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด


3 Ta Prohm : ปราสาทตาพรม 


                 ปราสาทฮอลลีวู๊ด  ที่เรียกปราสาทแห่งนี้ว่าปราสาทฮอลลีวู๊ด เพราะ  ชาวต่างชาติส่วนใหญ่จะรู้จัก ปราสาทแห่งนี้จากการชมภาพยนต์เรื่อง ทูมเรเดอร์  เมื่อหลายปีก่อน  เนื่องจาก ด้วยความสวยงาม ของรากไม้ที่ปกคลุมเกาะเกี่ยวตัวปราสาทไม่ให้ พังทลายไปตามกาลเวลา

4 Banteay Srei  :  ปราสาทบันทายสรี 


              เป็นปราสาทที่สร้างด้วยหินทรายสีชมพูป็นเอกลักษณ์ไม่มีที่ใหนเหมือน  ความพิเศษของปราสาทแห่งนี้คือ ลวดลายแกะสลักที่สวยงาม และ ละเอียดละออ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับมหากาพย์รามเกียรติ์  ด้วยความดดดเด่นทางด้านศิลปะ และการแกะสลักที่สวยงาม ทำให้ปรสาทแห่งนี้ได้ชื่อว่ารัตนชาติของปราสาทขอม

5 Suset at Phnom Bakheng


               ชมพระอาทิตย์ อัสดงที่ภูเขาพนม บาเค็ง     หลังจากที่ได้ชมกลุ่มปราสาทต่าง ๆ ในเมืองเสียบเรียบกันแล้ว   สถานที่สุดท้ายที่พลาดไม่ได้เลยก็คือ เขาพนมบาเค็ง    เราจะได้ออกแรงเดินขึ้นเขานิดหน่อย เพื่อชมพระอาทิตย์อัสดง พร้อมชมวิวเมืองเสียมเรียบ  360 องศา จากยอดปราสาท บาเค็งที่ตั้งอยู่บนภุเขาลูกนี้ แต่ถ้าหากใครอยากเปลี่ยนบรรยากาศ ที่นี่เค้าก็มีบริการขึ้นเขาโดยช้างแทนการเดิน

6 Angkor National Museum พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอังกอร์


              เป็นสถานที่ รวบรวมเรื่องราวความเป็นมาของอารยธรรมขอม  หลายยุค หลายสมัย แบ่งออกเป็นห้องต่าง ๆๆ  และ ที่นี่เค้ายังมีโชว์ หินชนิดต่าง ๆๆ ที่นำมาทำปราสาทหินอีกด้วย  บบว่า เข้ามาดูที่นี่ก่อนแล้วค่อยไปชมปราสาทหินของจริง จะทำให้เข้าใจมากขึ้นด้วย

7 Tonle Sap  ทะเลสาบเขมร


              ชาวเขรมรเรียกโตนเลสาบ เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 5 จังหวัด  นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือเข้ามาชม วิถีชีวิตของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในโตนเลสาป เป็นเหมือน เมือง  1 เมือง มีโรงเรียน โบสถ์ บ้านเรือนประชาชน และ ภัตตาคารลอยน้ำต้นรับนักท่องเที่ยว  และ ในทะเลสาบแห่งนี้ ยังมี เด็ก  เล็ก ๆๆ ล่องกะลามังมาทักทายกับนักท่องเที่ยว

8 Phnom Kulen ภูเขาพนมกุเลน


              แหล่งตัดหินใหญ่ที่นำมาทำปราสาทหินของชาวขอมโบราณ   และแห่งนี้ เป็นที่ตั้งของลำธารที่เป็นต้นน้ำของแม่น้ำเสียมเรียบ ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 2  โปรดให้แกะสลักหิน เป็นรูปศิวลึงค์ใต้น้ำนับพันองค์ เพื่อให้น้ำที่ไหลผ่านรุปสลักเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์   แต่ในปัจจุบันนี้ ชาวเขมรในเมืองเสียมราฐ นิยมพาครอบครัวมาปิ๊กนิก เล่นน้ำกันที่บริเวณน้ำตกพนมกุเลน

9 Phnom Penh  กรุงพนมเปญ


             เมืองหลวงของประเทศกัมพูชา เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า และ หน่วยงานราชการต่าง ๆ  ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวก็จะมี วัดพระแก้ว และ พระบรมมหาราชวัง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ,  ตูลสแลงเป็นคุกเก่าที่บอกเล่าเริ่งราวในยุคเขมรแดง, พซ่า เทมย หรือ Central Market ก็เป้นตลาดกลางของชาวเขมร และ ยังเป็น ท่ารถ ที่จะต่อรถไปยังเมือง เสียมเรียบ อีกด้วย

 10 Sihanouk Ville    สีหนุวิลล์


               เป็นจังหวัดเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชา  ที่มีชื่อเสียงในเรื่อง เมืองตากอากาศ   และ ในอดีตเป็นเมืองท่าที่สำคัญ จึงได้มีนักธุรกิจชาวมาเลย์ นิยมเข้ามาทำธูรกิจคาสิโนเป็นจำนวนมาก

ARCHETYPE Enchantress (ผู้น่าหลงใหล)




                                      ARCHETYPE Enchantress 
                        (ผู้น่าหลงใหล)

Gong Jansleem







Hin Channiroth





Pich Avisa







Chea Vannarith






                  ARCHETYPE Jester
                (ผู้สร้างความประหลาดใจ)

Job Chankakda






ARCHETYPE Patriach (นักปกครอง)




                            ARCHETYPE Patriach (นักปกครอง


               ตูสามุต (Tou Samouth) หรืออาจารย์สกเป็นนักการเมืองชาวกัมพูชาที่นิยมคอมมิวนิสต์ 
เกิดประมาณ พ.ศ. 2458 เป็นหนึ่งในสสมาชิกร่วมก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา และเป็นหัวหน้าพรในระยะหนึ่ง



               พระองค์เจ้านโรดม วิชรา (17 สิงหาคม พ.ศ. 2489-) พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สุรามฤต กับขุนเทพกัญญาโสภา (คิม อันยิป) พระชายาเชื้อสายเวียดนาม ถือเป็นพระขนิษฐาต่างพระมารดาของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระชนกของพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์กัมพูชาองค์ปัจจุบัน




                 ซอน ซานเป็นนักการเมืองกัมพูชา และผู้นำฝ่ายต่อต้าคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกัมพูชาระหว่างปี ค.ศ. 1967-1968



                สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลายสมัย สมเด็จฮุน เซน นั้นเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกัมพูชาครั้งแรก ตั้งแต่อายุ 33 ปี ในยุุคสาธารณรัฐกัมพูชานับเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุดของกัมพูชา 





วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ภาษากัมพูชาในชีวิตประจำวัน

คำทักทายพูดคุย




สวัสดี - ซัวซไดย, จุมเรี้ยบซัว
สบายดีหรือ - ซกสะบายดี (ถาม)
สบายดีค่ะ(ครับ) - จ๊ะ (บาด) ซกสะบายดี
ขอบคุณ - ออกุน, ออกุนเจริญ
ผม, ฉัน - ขยม
คุณชื่ออะไร - เตอเนี้ยะชัวเว่ย
ฉันชื่อสมชาย - ขยมฉม้วกสมชาย
ฉันไม่เข้าใจ - ขยมเมิ่นยวลเต๊
ฉันขอโทษ - ขยมโซ้มโต๊ก
 
 
ศัพท์ทั่วไป
 
 
 
ห้องน้ำ - ต๊บตึ๊ก
ขออีก/เอาอีก - ซมเตี๊ยบ
เจ้าชู้ - เปรี๊ยนเนียร
ช่างถ่ายรูป - เจียงถอดรูป
เข้านอน - โจรล-เด๊ก
ง่วงนอน  - งองเงยเด๊ก
ฝัน - สุบิน
วาดรูป - กู๊รูปเพรียบ
แชมพูสระผม - ซาบู๊เกาะเสาะ
เครื่องบิน - ยนเฮาะ (ยนต์เหาะ)
ตลาด - พซา
 
 
ซื้อของ : ช้อปปิ้ง
                                    
 
                                      
 ของนี้ราคาเท่าไหร่ - โปร๊กบอกนี้ทรัยป่นหม้าน
แพงไป - ทรัยเปก
ลดได้ไหม - จ๊กทรัยบานเต๊
ไม่มีเงิน - อ็อดเมียนโร้ย
เครื่องคิดเลข - เกรื้องกึ๊ดเลข
 
 
 
 

บทบาทของกัมพูชาในอาเซียน

             
  
 

                   ในอดีตที่ผ่านมา กัมพูชา เป็นประเทศที่สร้างความกังวลให้กับอาเซียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ความขัดแย้งทางอุดมการณ์และทางการเมืองในกัมพูชาอย่างรุนแรง แต่ภายหลังจากกัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนในปี 2542 กัมพูชาได้แสดงสิ่งที่สะท้อนถึงความร่วมมือและผลักดันให้เกิดเสถียรภาพและสันติภาพภายในภูมิภาค เช่น ในปี พ.ศ.2545 ประเทศกัมพูชาได้รับตำแหน่งประธานอาเซียน และเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 4-5 พฤศจิกายน พ.ศ.2545 ณ กรุงพนมเปญ ภายหลังเหตุการณ์ระเบิดที่บาหลีประเทศอินโดนีเซียเพียง 3 สัปดาห์  จึงทำให้เหตุการณ์ก่อวินาศกรรมที่บาหลี กลายมาเป็นวาระสำคัญในการประชุมสุดยอดอาเซียน ที่กรุงพนมเปญ ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ โดยมีผู้นำประเทศต่างๆ ทั้งผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ผู้นำประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ และผู้นำจากอินเดีย แอฟริกาใต้ร่วมด้วย รวม 15 ประเทศ มาร่วมประชุมเจรจาจนสำเร็จลุล่วง มีประเด็นหลักคือ ปัญหาการก่อการร้าย ที่หลายประเทศให้ความสำคัญ โดยผู้นำอาเซียนได้ออกปฏิญญาต่อต้านการก่อการร้าย และจะร่วมมือระหว่างกันในการป้องกัน โดยจะดำเนินมาตรการร่วมกันในประเทศสมาชิกและประชาคมโลก ทั้งยังเห็นพ้องให้มีการจัดตั้งศูนย์ต่อต้านการก่อการร้ายประจำภูมิภาค พร้อมทั้งประณามการก่อวินาศกรรมของกลุ่มก่อการร้ายที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และในเมืองซัมบวนกา และเกซอน ของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาได้แสดงเจตจำนงอย่างเต็มที่ในการให้ความร่วมมือต่อประชาคมนานาชาติในการต่อต้านการก่อการร้ายข้ามชาติ
                 ในปี 2555 ประเทศกัมพูชาได้ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนอีกครั้ง และในฐานะประธานอาเซียน ปี 2555 นี้ ประเทศกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Foreign Ministers’ Meeting (AMM) Retreat) ณ เมืองเสียมราฐ ระหว่างวันที่ 10-11 มกราคม 2555 กัมพูชาได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนเกี่ยวกับปัญหาในพม่า โดยสนับสนุนให้ยกเลิกมาตรกรรมคว่ำบาตรต่อพม่า หลังจากที่พม่ามีการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นประชาธิปไตยตามลำดับ รวมถึงสนับสนุนการรับประเทศติมอร์ตะวันออกเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนด้วย และเมื่อถึงวาระที่กัมพูชาจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 20 ประจำปี 2555 ณ กรุงพนมเปญ ในวันที่ 3-4 เมษายน 2555 ซึ่งเป็นปีที่มีการฉลองครบรอบ 45 ปี อาเซียน ผู้นำกัมพูชาได้แสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนในการสร้างความเข้มแข็งของกลไกในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของภูมิภาค รวมทั้งป้องกันวิกฤตเศรษฐกิจโลกในอนาคต และการส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างถิ่น โดยถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ที่แตกต่างหลากหลาย ตั้งแต่ประเทศที่ยากจนเช่นพม่า ไปจนถึงสิงคโปร์ที่มีความก้าวหน้าอย่างมาก และเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่างอินโดนีเซีย

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โฆษณาเถ้าแก่น้อย Ver.กัมพูชา


ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี

                ประเทศกัมพูชาเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน วัฒนธรรมประเพณีจึงมีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ความเชื่อ และวิถีชีวิตของคนในประเทศ ซึ่งศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่

*ระบำอัปสรา (Apsara Dance)
                เป็นการแสดงนาฏศิลป์ที่โดดเด่นของกัมพูชา ซึ่งถอดแบบการแต่งกายและท่าร่ายรำมาจากภาพจำหลักรูปนางอัปสรที่ปราสาทนครวัด




*เทศกาลน้ำ (Water festival) หรือ “บอน อม ตุก” (Bon Om Tuk)




                เทศกาลประจำปีที่ยิ่งใหญ่ของกัมพูชา จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนเพื่อเป็นการแสดงความสำนึกในพระคุณของแม่น้ำที่นำความอุดมสมบูรณ์มาให้ โดยจะมีการแข่งเรือยาว แสดงพลุดอกไม้ไฟ และการแสดงขบวนเรือประดับไฟ

ประชากรของกัมพูชา

จำนวนประชากร
14,952,665 (มิ.ย. 2012)



เชื้อชาติ
ชาวเขมร 85%
ชาวญวน 5%
ชาวจีน 5 %

ภาษา


ภาษาเขมรเป็นภาษาทางการ
ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเวียดนาม ภาษาไทย และภาษาจีน
ศาสนา


รัฐธรรมนูญกัมพูชาบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะมีผู้นับถือพระพุทธศาสนา 95% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาคริสต์ 1.7% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 0.3%

เศรษฐกิจของกัมพูชา

  • เกษตรกรรม อยู่บริเวณที่ราบภาคกลาง รอบทะเลสาบเขมร
         พืชที่สำคัญคือ ข้าวเจ้า ยางพารา พริกไทย
  • การประมง บริเวณรอบทะเลสาบเขมร เป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดในภูมิภาค
  • การทำป่าไม้ บริเวณเขตภูเขาทางภาคเหนือ โดยล่องมาตามแม่น้ำโขง
  • การทำเหมืองแร่ ยังไม่ค่อยสำคัญ
  • อุตสาหกรรม เป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม ส่วนใหญ่เป็นโรงสีข้าว โรงเลื่อย รองเท้า

  •                 ภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชาหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสังคมนิยมเป็นระบอบประชาธิปไตย และหลังจากสงครามภายใน ประเทศกัมพูชาเริ่มสงบลง และเริ่มพัฒนาฟื้นฟูบูรณะประเทศ ทำให้ความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น จึงเปิดโอกาสให้ ประเทศทำการค้าขายกับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น กัมพูชาจึงกำหนดนโยบายที่มุ่งหวังการพัฒนาศักยภาพทางการเกษตร การท่องเที่ยว และส่งเสริมให้มีการลงทุนจากต่างชาติ โดยกำหนดยุทธการต่างๆ เพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐและได้ดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การปรับปรุงกฎหมายด้านเศรษฐกิจ การเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนต่างประเทศ การปฏิรูประบบจัดเก็บภาษีเงินได้ และเร่งรัดพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น สนามบิน ถนน ไฟฟ้า ประปา และสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น ภายใต้ความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และ UNDP รวมทั้งประเทศที่ให้ความช่วยเหลืออื่นๆ
                    แต่การพัฒนาเศรษฐกิจของกัมพูชาได้เติบโตอย่างช้าๆ โดยเฉพาะในช่วงปี 2540-2541 กัมพูชาต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย และความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศถอนตัวออกจากประเทศกัมพูชา ส่งผลให้การฟื้นฟูบูรณะและการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างล่าช้า แต่หลังจากปี 2542 สถานการณ์การเมืองกัมพูชาเริ่มมีความมั่นคงพอสมควร และนับเป็นปีแรกที่กัมพูชามีสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในหมดไป ปัจจุบัน กัมพูชากำลังพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (ตุลาคม 2543 - กันยายน 2548) ทั้งนี้เพื่อให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในเกณฑ์ร้อยละ 6-7 ต่อปี ภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชาในอดีตที่ผ่านมาสามารถสรุปได้ดังนี้
                   สินค้าเกษตรกรรมถือว่าเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศประมาณร้อยละ 43 ของ GDP มาจากข้าวและปศุสัตว์ ส่วนการประมงและป่าไม้มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 5 สินค้าเกษตรที่ส่งออกได้แก่ข้าว ไม้ และยางพารา รองลงมาได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง สัตว์มีชีวิต ผลไม้ และปลา เป็นต้น ทั่วไปกัมพูชามีสินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ไม้ ยางพารา ข้าว และปลา สินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง บุหรี่ ทอง วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรและเครื่องยนต์

    ภูมิประเทศของกัมพูชา

  • ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ประกอบด้วยที่ราบรอบทะเลสาบเขมร และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
  • มีทิวเขาล้อมรอบทางเหนือ คือ เทือกเขาพนมดงรัก เทือกเขาบรรทัด เทือกเขาอันนัม




  •                                                                        ทะเลสาบเขมร


    กัมพูชา มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายชามหรืออ่าง คือ ตรงกลางเป็นแอ่งทะเลสาบและลุ่มแม่น้ำโขงอันกว้างขวาง มีภูเขาล้อมรอบอยู่ 3 ด้าน ได้แก่

  • ด้านตะวันออกมีแนวเทือกเขาอันนัมที่เป็นพรมแดนกับประเทศเวียดนาม
  • ด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือมีแนวเทือกเขาพนมดงรักที่เป็นพรมแดนกับประเทศไทย
  • ด้านใต้และตะวันตกใต้มีแนวเทือกเขาบรรทัดที่เป็นแนวพรมแดนกับประเทศไทย
  • เฉพาะด้านตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง



    แม่น้ำ/ทะเลสาบสำคัญ
    1. แม่น้ำโขง ไหลจากลาวเข้าสู่ภาคเหนือของกัมพูชาแล้วไหลผ่านเข้าเขตเวียดนาม มีความยาวในเขตกัมพูชารวม 500 กิโลเมตร
    2. แม่น้ำทะเลสาบ เชื่อมระหว่างแม่น้ำโขงกับทะเลสาบ ความยาว 130 กิโลเมตร
    3. แม่น้ำบาสัก (Bassac) เชื่อมต่อกับแม่น้ำทะเลสาบที่หน้าพระมหาราชวัง กรุงพนมเปญ ความยาว 80 กิโลเมตร
    4. ทะเลสาบโตนเลสาบ อยู่ห่างจากกรุงพนมเปญประมาณ 100 กิโลเมตร ฤดูน้ำหลากน้ำท่วมถึง 7,500 ตารางกิโลเมตร ลึกถึง 10 เมตร โตนเลสาบครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กำปงธม กำปงซะนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมราฐ ในโตนเลสาบมีปลาชุกชุมกว่า 300 ชนิด


                                                                       ทะเลสาบยักษ์ลูม



    โตนเลสาบ
     
     
    ภูเขา
    ยอดเขาสูงที่สุดของกัมพูชาคือ พนมอาออรัล สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,813 เมตรทิศเหนือของกัมพูชามีเขตแดนติดกับประเทศไทยระยะทางยาว 750 กิโลเมตร ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี ตราด โดยมีเทือกเขาพนมดงรัก และเทือกเขาบรรทัดกั้น



                                                                    ยอดเขาพนมอาออรัล


    ป่าไม้
    กัมพูชาเป็นประเทศที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มากที่สุดหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบันป่าไม้ลดลงอย่างมากหลังจากที่รัฐบาลเปิดให้สัมปทานป่ากับบริษัทเอกชนจากประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และญี่ปุ่น

    ภูมิอากาศ
    มีอากาศมรสุมเขตร้อนเป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม ฤดูฝนเริ่มจากเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ฤดูแล้ง เริ่มจากเดือนพฤศจิกายน-เมษายน เดือนเมษายนมีอุณหภูมิสูงสุดที่สุด เดือนมกราคมมีอุณหภูมิต่ำที่สุด เดือนตุลาคมมีฝนตกชุกที่สุด

    การแบ่งเขตการปกครองของกัมพูชา

    ประเทศกัมพูชาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 23 จังหวัด (เขต) และ 1 เทศบาลนคร (กรุง)

    การเมืองของกัมพูชา

                  สภาพการเมืองในกัมพูชาปัจจุบันถือว่ามีเสถียรภาพ พรรคการเมืองสองพรรคหลักซึ่งประกอบขึ้นเป็นรัฐบาลกัมพูชา คือ พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ของสมเด็จฮุน เซน และพรรคฟุนซินเปค (FUNCINPEC) ของสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ สามารถร่วมมือกันได้อย่างราบรื่น ทั้งในด้านบริหารและด้านนิติบัญญัติ รวมทั้งมีท่าทีที่สอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ในประเด็นทางการเมืองสำคัญๆ ของประเทศ อาทิ เรื่องการนำตัวอดีตผู้นำเขมรแดงมาพิพากษาโทษ เป็นต้น



                                                                          สมเด็จฮุน เซน

                    กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลยังไม่มีความเข้มแข็งมากพอ และคงสามารถทำได้เพียงแต่สร้างผลกระทบทางลบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล โดยในทางการเมือง พรรคสม รังสี พรรคการเมืองฝ่ายค้านหนึ่งเดียวในสภาแห่งชาติกัมพูชา ได้เคลื่อนไหวตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลกัมพูชาอย่างแข็งขัน พยายามชี้ให้สาธารณชนและนานาชาติ เห็นถึงการทุจริตและประพฤติมิชอบของรัฐบาล รวมทั้งการใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและของพรรค อย่างไรก็ดี ในด้านความมั่นคง มีปรากฏการณ์ใหม่ คือ ได้เกิดกลุ่มติดอาวุธที่มีวัตถุประสงค์จะโค่นล้มรัฐบาลของสมเด็จฮุน เซน ที่สำคัญคือ Cambodian Freedom Fighters (CFF) ซึ่งมีชาวกัมพูชาสัญชาติอเมริกันเป็นหัวหน้า กลุ่มดังกล่าวได้ก่อการร้ายขึ้นในกรุงพนมเปญเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 แต่รัฐบาลกัมพูชาสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ และอยู่ระหว่างกระบวนการพิพากษาตัวผู้กระทำผิด

    การสืบราชสันตติวงศ์

                    ไม่เหมือนกับระบบกษัตริย์ส่วนใหญ่ในประเทศอื่นๆ ระบบกษัตริย์ของกัมพูชา ไม่เสมอไปที่ราชบัลลังก์จะตกไปสู่ผู้มีลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ลำดับถัดไป ( ผู้ที่มีศักดิ์สูงสุดในราชวงศ์ หรือลูกคนโตของกษัตริย์องค์ก่อน เป็นต้น) และพระมหากษัตริย์ ไม่สามารถเลือกผู้ที่จะมาสืบราชสันตติวงศ์ได้ด้วยตัวเอง แต่ผู้ที่มีสิทธิ์ในการเลือกพระมหากษัตริย์องค์ใหม่นั้นคือ ราชสภาเพื่อคัดเลือกผู้ที่จะได้รับการสืบราชสันตติวงศ์ (Literally: ราชสภาเพื่อราชบัลลังก์) (Royal Council of the Throne) ซึ่งมีสมาชิกดังนี้
    1. ประธานสภารัฐสภาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
    2. นายกรัฐมนตรี
    3. พระสังฆราช ศาสนาพุทธ ฝ่ายมหานิกาย
    4. พระสังฆราช ศาสนาพุทธ ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
    5. รองประธานรัฐสภาคนที่หนึ่ง
    6. รองประธานสภาคนที่สอง
    ราชสภาจะจัดการประชุมในสัปดาห์ที่พระมหากษัตริย์ สวรรคตหรือ ไม่สามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ต่อไป และเลือกพระมหากษัตริย์องค์ใหม่จากรายชื่อผู้มีสิทธิ์สืบราชสันตติวงศ์ และเป็นสมาชิกราชวงศ์

    ประวัติศาสตร์ของประเทศกัมพูชา

    ยุคมืดของกัมพูชา
                    ยุคมืดของกัมพูชา เริ่มตั้งแต่อาณาจักรอยุธยาได้โจมตีอาณาจักรเขมร และ ได้เผา พระนคร เมืองหลวงของอาณาจักรเขมร ราบเป็นหน้ากลอง ทำให้อาณาจักรเขมรเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศตั้งแต่บัดนั้นมา เขมรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในฐานะดินแดน ประเทศราช อาณาจักรอยุธยาปกครองเขมรเป็นเวลาเกือบ 400 ปี ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เขมรตกอยู่ภายใต้การควบคุมของจักรวรรดิสยามอย่างเข้มงวด ในสมัยรัชกาลที่3 ได้เกิด สงครามอานามสยามยุทธทำให้กัมพูชาเป็นรัฐอารักขาระหว่างสยามกับญวณ ก่อนที่จะตกเป็นของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
     
     

     

    สมัยอาณานิคมฝรั่งเศส

                   กัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมาตั้งแต่พ.ศ. 2406 ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองกัมพูชาไว้ แล้วปลดผู้ปกครองกัมพูชาที่เป็นชาวฝรั่งเศสและผู้นิยมฝรั่งเศสออกไป เมื่อสงครามโลกครั่งที่ 2 ยุติลง ฝรั่งเศสได้ขับไล่ญี่ปุ่นออกจากกัมพูชาเป็นฝ่ายชนะสงคราม กัมพูชาจึงต้องตกเป็นของฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาฝรั่งเศสมีภาระการต่อสู้ติดพันกับนักชาตินิยมในเวียดนาม จึงต้องหาทางประนีประนอมกับกัมพูชา โดยได้จัดทำสนธิสัญญาขึ้นเพื่อเปลี่ยนสภาพจากการที่กัมพูชาเป็นเมืองขึ้นมาเป็นรัฐในอารักขาแห่งเครือจักรภพของฝรั่งเศสในระยะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสได้เจ้าสีหนุเป็นกษัตริย์ปกครองกัมพูชา เมื่อญี่ปุ่นยึดกัมพูชาได้ จึงให้เจ้าสีหนุประกาศเอกราชเป็นอิสระจากฝรั่งเศส แต่เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสจึงกลับเข้ามามีอำนาจในกัมพูชาเหมือนเดิม